กรมเจ้าท่า แจ้งความคืบหน้าการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise) ว่า กรมเจ้าท่า ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 63-66 ภายใต้แผนงานบูรณาการสร้างรายได้ จากการท่องเที่ยว วงเงินรวม 156.15 ลบคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เพื่อพัฒนาท่าเรือครุยส์ 3 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี วงเงิน 18 ล้านบาท (ปี 63=2.70 ล้านบาท ปี 64=4.68 ล้านบาท และปี 65=10.62 ล้านบาท) มีความคืบหน้า 80% อยู่ระหว่างที่ปรึกษาจัดทำรายงานหลักการฉบับสมบูรณ์ และรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชนฉบับสมบูรณ์ เพื่อเสนอให้กรมเจ้าท่า รมว.คมนาคม ก่อนเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาต่อไป
2. โครงการศึกษาวางแผนแม่บท เพื่อพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) และสำรวจออกแบบท่าเรือสำราญขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่งอันดามัน วงเงินรวม 69.21 ล้านบาท (ปี 63=10.50 ล้านบาท ปี 64=24.415 ล้านบาท และปี 65=34.295 ล้านบาท) มีความคืบหน้า 50% อยู่ระหว่างที่ปรึกษาแก้ไขรายงานศึกษาความเหมาะสมฉบับสมบูรณ์ กำหนดแล้วเสร็จส่งกรมเจ้าท่าภายในเดือน เม.ย. 66 จากนั้นจะจัดทำร่างรายงานการสำรวจออกแบบ ร่างรายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร ร่างแบบรายละเอียดเบื้องต้น และร่างการประมาณราคา กำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 66
และจะดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และหลักการของโครงการร่วมลงทุนฉบับสมบูรณ์ กำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค. 66 เบื้องต้นผลการศึกษาได้ข้อสรุปพื้นที่เหมาะสมเป็นท่าเรือรองรับเรือครุยส์ บริเวณหัวหินเพิง ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ และพัฒนาท่าเรือจอดทิ้งสมอ (Landing pier) ที่เกาะพยาม จ.ระนอง, ท่าเรือทับละมุ จ.พังงา, ท่าเรือบ้านศาลาด่าน จ.กระบี่, อ่าวป่าตอง จ.ภูเก็ต, เกาะอาดัง-ราวี และเกาะตะรุเตา จ.สตูล
3. โครงการศึกษาสำรวจออกแบบ ท่าเรือต้นทาง (Home Port) สำหรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) บริเวณอ่าวไทยตอนบน วงเงินรวม 68.94 ล้านบาท (ปี 63=10.50 ล้านบาท ปี 64=21.35 ล้านบาท และปี 65=37.09 ลบ.) มีความคืบหน้า 60% ปัจจุบันอยู่ระหว่างที่ปรึกษาแก้ไขร่างรายงานการสำรวจออกแบบ ร่างรายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร ร่างแบบรายละเอียดเบื้องต้น และร่างการประมาณราคา กำหนดแล้วเสร็จส่งกรมเจ้าท่าภายในเดือน เม.ย. 66 และจะดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และหลักการของโครงการร่วมลงทุนฉบับสมบูรณ์ กำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย. 66 เพื่อนำเสนอ รมว.คมนาคม และส่งให้ สคร. พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ผลการศึกษาได้ข้อสรุปที่เหมาะสมในการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ท่าเรือเป็นลักษณะผสมผสาน (Hybrid) คือเป็นท่าเรือต้นทาง (Home port) รองรับเรือขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 1,500 คน และเป็นท่าเรือแวะพัก ( Port of call) สำหรับรองรับเรือขนส่งผู้โดยสาร 3,500-4,000 คน อย่างไรก็ตามเมื่อรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการการให้เอกชนร่วมลงทุนได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ทั้ง 3 โครงการมีขั้นตอนการดำเนินงาน ได้แก่ ตั้งงบประมาณปี 67-68 จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EHIA) ระยะเวลา 540 วัน ตั้งงบประมาณปี 68-69 คัดเลือกผู้ร่วมทุน ระยะเวลา 360 วัน ตั้งงบประมาณปี 69-71 เริ่มก่อสร้าง ระยะเวลา 900 วัน แผนเปิดให้บริการท่าเรือภายในปี 71
การพัฒนาท่าเรือรองรับเรือครุยส์ จะช่วยสนับสนุนธุรกิจเรือครุยส์ในประเทศไทยได้อย่างครอบคลุมเส้นทางทั้งสองฝั่งทะเล เป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันเพิ่มสัดส่วนรายได้ด้านการท่องเที่ยว เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศ กระตุ้นรายได้การท่องเที่ยวเรือสำราญทางน้ำ เพิ่มการจดทะเบียนเรือท่องเที่ยวทางน้ำ อีกทั้งเพิ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ผ่านด่านทางน้ำอีกด้วย โดยในแง่เศรษฐกิจเรือครุยส์ 1 ลำ มีนักท่องเที่ยวประมาณ 3,000 คน
จากสถิติการเดินเรือสำราญในปี 61 พบว่า มีเรือครุยส์เข้ามาแวะพักจอดในประเทศไทยสูงเป็นลำดับที่ 3 ของภูมิภาคเอเชีย 581 เที่ยวต่อปี อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 14 % โดยมีท่าเทียบเรือหลักที่รองรับในฝั่งอ่าวไทยคือ ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง 149 เที่ยวต่อปี และจากการสำรวจ พบว่า นักท่องเที่ยวใช้จ่ายประมาณ 7,000 บาท/คน/วัน หมายความว่า เรือครุยส์ 1 ลำ นำเม็ดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจ 21 ล้านบาท/วัน/ลำ หากเรือครุยส์แวะเข้าเทียบท่าจำนวนมากขึ้น และจอดท่องเที่ยวในเมืองไทยนานขึ้น จะสร้างเม็ดเงินด้านการท่องเที่ยวมากขึ้นไปด้วย อีกทั้งในกรณีที่ท่าเทียบเรือได้รับการพัฒนาให้เป็นท่าเรือต้นทาง (Home Port) มูลค่าทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นจากที่ได้กล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 7-8 เท่า.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง