ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลเวเนซุเอลาได้จัดให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับดินแดน “เอสเซกิโบ” (Essequibo) ที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศกายอานา
ผลปรากฏว่า ร้อยละ 95 ของประชาชนเวเนซุเอลาที่มาลงประชามติ โหวต “เห็นชอบ” ให้สร้างรัฐเวเนซุเอลาในดินแดนเอสเซกิโบ แม้จะมีรายงานว่า พบประชาชนเวเนซุเอลาไปใช้สิทธิลงประชามติค่อนข้างบางตา แต่สภาการเลือกตั้งของเวเนซุเอลาอ้างว่า มีผู้มาลงประชามติมากถึง 10 ล้าน 5 แสนคนหรือราวครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงทั้งหมดราว 20 ล้านคน
เวเนซุเอลาลงประชามติเห็นชอบ ยึดดินแดน “เอสเซกิโบ” จากกายอานา
เปิดประเทศ “น้ำมันขายปลีกแพงสุดในโลก” ส่องไทยแพงเป็นอันดับที่เท่าใด?
หลังการลงประชามติเสร็จสิ้น วันอังคารที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี นิโคลัส มาดูโร ของเวเนซุเอลา ได้ประกาศร่างกฎหมายจัดตั้งจังหวัด “กายอานา เอเซกิบา” (Guayana Esequiba) ในดินแดนเอสเซกิโบ โดยผู้ที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวก็จะได้รับสัญชาติเวเนซุเอลาด้วย
พร้อมทั้งแสดง “แผนที่ประเทศเวเนซุเอลาใหม่” ที่รวมเอาดินแดนพิพาท “เอสเซกิโบ” เข้าไปเรียบร้อยแล้ว และกล่าวว่าจะแจกจ่ายแผนที่ดังกล่าวให้โรงเรียนต่างๆ และพื้นที่สาธารณะทั่วประเทศ
นอกจากนี้ประธานาธิบดีมาดูโรยังระบุว่า จะเริ่มดำเนินการสำรวจน้ำมัน เชื้อเพลิงฟอสซิล และเหมืองแร่ในพื้นที่พิพาทนี้โดยทันที รวมถึงเรียกร้องให้บริษัทขุดเจาะน้ำมันของกายอานายุติการดำเนินการทันทีและต้องออกจากพื้นที่นี้ภายในสามเดือน
ด้านประธานาธิบดี อิรฟาน อาลี (Irfaan Ali) ของกายอานา ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการกระทำของเวเนซุเอลา และเรียกการลงประชามติเพื่อผนวกดินแดนนี้ว่า เป็นภัยคุกคามต่อบูรณภาพแห่งดินแดน อธิปไตย และเอกราชทางการเมืองของกายอานา
ดินแดน “เอสเซกิโบ” อยู่ตรงไหนและทำไมจึงเป็นพื้นที่พิพาทระหว่างเวเนซุเอลาและกายอานาปัจจุบันดินแดนเอสเซกิโบอยู่ในอาณาเขตของกายอานา มีพื้นที่ประมาณ 159,500 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ราว 2 ใน 3 ของประเทศกายอานา และเป็นที่อยู่อาศัยของชาวกายอานาราว 125,000 คน ดินแดนตรงนี้เป็นพื้นที่พิพาทระหว่างเวเนซุเอลาและกายอานามานานแล้ว
จุดเริ่มต้นคือสมัยอาณานิคม ในปี 1841 อังกฤษได้ซื้อบริติช เกียนา ซึ่งก็คือประเทศกายอานาในปัจจุบันมาจากเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเวเนซุอาในสมัยนั้นได้กล่าวหาว่าอังกฤษรุกล้ำพื้นที่ส่วนหนึ่งของตนเอง นั่นคือ ดินแดนเอสเซกิโบ
ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและเวเนซุเอลาเกี่ยวกับดินแดนนี้ดำเนินมาถึง 58 ปี จนกระทั่งในปี 1899 ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ตัดสินให้เขตแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ และแม้กายอานาจะได้รับเอกราชจากอังกฤษ
เมื่อปี 1966 ดินแดนนี้ก็ยังคงอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลกายอานา แต่รัฐบาลเวเนซุเอลาไม่เคยยอมรับผลการตัดสินในครั้งนั้น และเดินหน้าเรียกร้องให้มีการผนวกดินแดนนี้กลับมาเป็นของตนมาโดยตลอด
กระทั่งในปี 2015 เวเนซุเอลาได้กลับมาอ้างสิทธิเหนือดินแดนเอสเซกิโบอย่างหนักอีกครั้ง หลังบริษัท ExxonMobil บริษัทด้านพลังงานชั้นนำของสหรัฐฯ ค้นพบน้ำมันมหาศาลในดินแดนเอสเซกิโบ
นี่คือจุดที่ ExxonMobil ค้นพบน้ำมัน ซึ่งห่างจากชายฝั่งเอสเซกิโบราว 193 กิโลเมตร บริเวณนี้ถูกเรียกว่า สตาโบรค บล็อก (Stabroek block) มีพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร
จากแผนที่จะเห็นได้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของกายอานา และบางส่วนอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวเนซุเอลา แหล่งน้ำมันนี้เองที่ทำให้ประเทศกายอานามีปริมาณน้ำมันสำรองในประเทศมากถึง 1 หมื่นล้านบาร์เรลในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
การค้นพบน้ำมันในครั้งนี้ทำให้ข้อพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างเวเนซุเอลาและกายอานากลับมาตึงเครียดอีกครั้ง ไม่กี่เดือนหลังพบน้ำมัน ทางการเวเนซุเอลาได้ส่งกองทัพเรือเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของกายอานา
ทางการกายอานาจึงตอบโต้ด้วยการเพิกถอนใบอนุญาตการดำเนินงานของสายการบินคอนเวียซา (Conviasa) สายการบินแห่งชาติเวเนซุเอลา
จนกระทั่งในปี 2018 อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้นำข้อพิพาททางดินแดนระหว่างเวเนซุเอลาและกายอานาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมผ่านศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือ ICJ หลังพิจารณาเรื่องดังกล่าวมานานถึง 6 ปี ในที่สุดเดือนเมษายนที่ผ่านมา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ประกาศว่าตนเองมีอำนาจในการตัดสินเกี่ยวกับข้อพิพาททางดินแดนนี้ ซึ่งหมายถึงสามารถเป็นผู้ตัดสินว่าประเทศใดจะได้สิทธิในดินแดนนี้ไป คาดว่า กว่าศาลจะสามารถตัดสินข้อพิพาทนี้ได้อาจใช้เวลาอีกหลายปีเช่นกันคำพูดจาก นสล็อตออนไลน์
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเวเนซุเอลาเพิกเฉยต่อคำประกาศของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และประกาศว่าจะจัดการลงประชามติในประเทศเพื่อผนวกดินแดนดังกล่าว
2 วันก่อนจะมีการลงประชามติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ออกมาเตือนว่า การเคลื่อนไหวใดๆ ของเวเนซุเอลาอาจเปลี่ยนแปลงสถานภาพที่เป็นอยู่ในภูมิภาค
นอกจากนี้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังระบุว่าจะใช้บทบัญญัติมาตรา 41 และ 42 ของกฎบัตรสหประชาชาติ เพื่อให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ดำเนินมาตราการคว่ำบาตรหรือดำเนินทางการทหาร หากเวเนซุเอลายังจัดการลงประชามติ
หลายฝ่ายเชื่อว่า แรงจูงใจหลักที่ทำให้ผู้นำเวเนซุเอลาออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ เป็นเพราะสถานการณ์ในประเทศที่กำลังวิกฤต
เวเนซุเอลา เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศตั้งแต่ปี 2010 เมื่อประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันมาถึงสามทศวรรษไม่สามารถผลิตน้ำมันได้เท่าเดิม นำไปสู่การล่มสลายทางเศรษฐกิจในท้ายที่สุด
ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงกว่าร้อยละ 300 ผลักประชาชนเกือบร้อยละ 90 เข้าสู่ความยากจน หลายครอบครัวไม่มีแม้แต่สิ่งของจำเป็นพื้นฐาน เช่น อาหารและยาและนำมาซึ่งวิฤตด้านมนุษยธรรม
ส่วนการเมืองภายในก็ไม่มั่นคง มีทั้งการทุจริตและคอร์รัปชัน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีมาดูโรเองก็ถูกครหาว่าโกงผลเลือกตั้งในปี 2018 จนก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง ผู้คนจำนวนมากออกมาประท้วงขับไล่ผู้นำออกจากตำแหน่ง
นอกจากนี้ ความไม่ลงรอยกันอย่างหนักระหว่างรัฐบาลของมาดูโร และฮวน กุยโด หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ส่งผลให้การดำเนินการต่างๆ ในประเทศล่าช้า
ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศ ประกอบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากตัดสินใจหนีออกนอกประเทศ โดยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีรายงานว่านับตั้งแต่ปี 2014 ชาวเวเนซุเอลากว่า 7 ล้าน 7 แสนคนได้อพยพออกนอกประเทศเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า
นี่จึงนำมาสู่การคาดการณ์ว่า เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รัฐบาลเวเนซุเอลาตัดสินใจเร่งผนวกดินแดนเอสเซกิโบในกายอานาเป็นของตนเอง เพื่อครอบครองน้ำมันมหาศาลและบรรเทาสถานการณ์ในประเทศ อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายกังวลว่าการกระทำเช่นนี้อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรง
จอห์น เคอร์บี โฆษกความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า เวเนซุเอลาควรเคารพคำประกาศของศาลในการตัดสินเกี่ยวกับข้อพิพาททางดินแดนระหว่างเวเนซุเอลาและกายอานา พร้อมย้ำว่าสหรัฐฯ สนับสนุนให้เกิดแนวทางที่สันติเพื่อแก้ไขข้อพิพาททางดินแดนระหว่างสองชาติ
ด้านเดวิด คาเมรอน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหราชอาณาจักรก็ออกมาพูดเรื่องนี้เช่นกัน เขาเรียกร้องให้เวเนซุเอลายุติการดำเนินการฝ่ายเดียว รวมถึงหวังว่าจะได้พูดคุยและหารือทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีกายอานาและผู้นำคนอื่นๆ ในภูมิภาคเกี่ยวกับประเด็นนี้ในภายหลัง
ขณะที่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้านของเวเนซุเอลาและกายอานา อย่างบราซิล ก็ได้ส่งกำลังทหารไปยังเมืองชายแดนโบอาวิสตา ซึ่งเป็นเมืองเอกของรัฐโรไรมา ทางตอนเหนือสุดของบราซิลและมีชายแดนติดกับเวเนซุเอลา พร้อมทั้งนำยานพาหนะติดอาวุธเข้ามาด้วย หลังรัฐบาลเวเนซุเอลาประกาศจัดตั้งรัฐในอาณาเขตของกายอานา
เมื่อวานนี้ 7 ธ.ค. ประธานาธิบดี ลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิล ได้กล่าวระหว่างเข้าร่วมการประชุมเมอร์โคซูร์ (Mercosur) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้
โดยระบุว่า เขากำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากกังวลถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวเนซุเอลาและกายอานา พร้อมย้ำว่าไม่ต้องการให้เกิดสงครามในทวีปอเมริกาใต้ และหวังว่าจะมีการแก้ปัญหาอย่างสันติในเรื่องนี้
เปิดใจ! ครูขายโรตีเลี้ยงชีพ หลังโดน ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดให้ออกจากราชการ
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 16 ธันวาคม